อุดฟัน อุดปัญหาพาปวดหัว

      สบายวันนี้ ลำบากวันหน้าที่ว่ามาไม่เกินจริงเลยสักนิด เราเลยต้องขอพูดถึงปัญหาเล็ก ๆ ที่หลายคนชอบมองข้ามอย่างการฟันผุ คนส่วนใหญ่รู้ตัวว่าฟันผุ แต่พอไม่เจ็บ ไม่ปวดก็ปล่อยทิ้งเอาไว้ รู้หรือไม่ว่าไอเจ้ารอยผุเล็ก ๆ กำลังจะพาปัญหาใหญ่ ๆ มาให้ ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ รับรองว่าน้ำตาตกในอย่างแน่นอน

ฟันผุเกิดจากอะไร?
ข้อเสียของฟันผุ
สัญญาณของฟันผุ
การอุดฟันคืออะไร ?
วัสดุอุดฟันมี่กี่ประเภท ?
อุดฟันราคาเท่าไหร่ ?
อุดฟันเบิกประกันสังคมได้หรือไม่ ?
ก่อนอุดฟันต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
หลังอุดฟันต้องดูแลอย่างไร ?

 

ฟันผุเกิดจากอะไร?

ฟันผุเกิดได้อย่าง่ายดายมาก เพราะเราต่างก็ต้องใช้ปากบดเคี้ยวอาหาร และสื่อสารกันอยู่ทุก ๆ วัน ในปากของเราจึงเต็มไปด้วบแบคทีเรียที่หากมันมารวมตัวกับเศษอาหาร และน้ำตาลเมื่อไหร่ มันก็จะกลายร่างเป็นกรด กัดกร่อนเเร่ธาตุบนผิวเเละเกิดเป็นรอยผุเล็ก ๆ ซึ่งมันอาจจะขยายตัวใหญ่ขึ้น หากเราปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น เราอาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ที่มีเพียงชุดเดียวของเราไปตลอดกาล

 

ข้อเสียของฟันผุ

  1. ทำให้เกิดอาการเสียว และปวดฟัน อาการ Basicly ที่คนมีฟันผุต้องเจอ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องตลกเลย เพราะการกินเป็นเรื่องใหญ่ แต่ถ้าต้องกินอาหารไปพร้อม ๆ กันอาการปวด และเสียวฟัน ก็พาลทำให้รสชาติของอาหารแย่ไปด้วย
  2. หากฟันผุลงไปลึกมาก อาจลุกลามไปถึงด้านในของฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท ความปวด และทรมานจะยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่ใช่แค่รบกวนการกิน แต่รบกวนการใช้ชีวิตอื่น ๆ อีกด้วย บางคนอาจถึงขั้นปวดจนนอนไม่หลับเลยก็ได้
  3. เมื่อฟันมีรู ก็มีช่องทางสำหรับเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายด้านในของฟัน และส่งผลให้ติดเชื้อ อาจจะส่งผลให้อักเสบ เป็นหนอง ที่สำคัญร่างกายของเราทุกส่วนล้วนเชื่อมถึงกัน หากปล่อยไว้อาจจะส่งผลต่อร่างกายส่วนอื่น อย่างดวงตา สมอง หรือการหายใจ

 

สัญญาณของฟันผุ

  1. หากทานของเย็น หรือของร้อนแล้วมีอาการเสียวที่ฟัน แสดงว่าฟันของเรามีรอยผุซึ่งอาจจะยังเป็นแค่รอยเล็ก ๆ ควรรีบไปตรวจฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุหนักขึ้น
  2. หากพบคราบสีขาวตามคอฟัน แปรงเท่าไหร่ก็ไม่ออก ก็สตารท์รถออกไปหาหมอได้เลย ฟันผุเริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว 
  3. มีรอยสีดำ ๆ รอยผุเป็นรู ชัดเจนเลยว่าคุณคือผู้โชคร้าย ฟันของคุณผุเป็นที่เรียบร้อย และถ้าไปอุดฟันช้ากว่านี้ รับรองว่าต้องกลายเป็นปัญหาใหญ่แน่

 

การอุดฟันคืออะไร ?

การอุดฟัน(tooth filling) คือ การทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปจากกรณีต่างๆ ดังนี้ ทั้งจากฟันผุ ฟันสึก ฟันแตกหักจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงการชำรุดของวัสดุอุดฟันเก่า เพื่อให้ฟันของเราคืนชีพกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

 

วัสดุอุดฟันมี่กี่ประเภท ?

วัสดุอุดฟันที่มีหลากหลายตามวัสดุประสงค์การใช้งาน อาทิ ทอง กลาสไอโอโนเมอร์ พอร์ซเลน แต่ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ

  1. วัสดุอุดโลหะ (อะมัลกัม) แข็งแรงทนทาน ราคาไม่แพง แต่เนื่องจากวัสดุมีสีเงิน/สีเทา มองแล้วไม่สวยงาม และหลังจากอุดด้วยอะมัลกัม  ไม่ควรเคี้ยวอาหารในบริเวณที่อุดเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพราะในระยะแรกวัสดุยังมีความแข็งแรงไม่เต็มที่เสี่ยงต่อการแตกหักได้
  2. วัสดุอุดสีเหมือนฟัน (เรซินคอมโพสิต) มีความสวยงามเพราะมีสีใกล้เคียงเนื้อฟันตามธรรมชาติ ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกสีที่คล้ายกับสีฟันของคนไข้มากที่สุด  แต่วัสดุประเภทนี้อาจจะรับแรงบดได้น้อยกว่าอะมัลกัม 
  3. การเคลือบหลุมร่องฟัน จะช่วยป้องกันฟันผุบริเวณหลุมและร่องฟันบนด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ตามปกติแล้วฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุที่ผิวเรียบของฟันด้านประชิด แต่ที่ด้านบดเคี้ยวของฟันกรามจะมีหลุมและร่องฟันที่ลึกซึ่งง่ายต่อการมีเศษ อาหารและเชื้อโรคเข้าไปสะสม

 

อุดฟันราคาเท่าไหร่ ?

อุดฟันเริ่มต้นที่ซี่ละ 600 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยผุ

 

อุดฟันเบิกประกันสังคมได้หรือไม่ ?

เบิกได้ในวงเงิน 900 บาท ต่อปี ซึ่งสามารถเบิกจ่ายตรง โดยคนไข้ไม่ต้องสำรองเงินสด 

 

ก่อนอุดฟันต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ  รับประทานอาหารให้อยู่ท้อง
  2. หากมีโรคประจำตัว แพ้ยา หรือ ยาที่รับประทานประจำให้แจ้งทันตแพทย์ก่อนทำการรักษา
  3. หากมีฟันปลอมแบบถอดได้หรือใส่รีเทนเนอร์ควรนำมาด้วย 
  4. ควรทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อลดระยะเวลารอคอย
  5. ตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าฟันผุไม่ลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน และเนื้อฟันเหลือเพียงพอให้วัสดุอุดยึดเกาะ 
  6. สอบถามราคาและความเสี่ยงในการักษากับทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

หลังอุดฟันต้องดูแลอย่างไร ?

  1. หากอุดด้วยอะมัลกัมไม่ควรเคี้ยวอาหารในบริเวณที่อุดเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพราะในระยะแรกวัสดุยังมีความแข็งแรงไม่เต็มที่เสี่ยงต่อการแตกหักได้
  2. ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันให้ถูกวิธี (modified bass technique)
  3. ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  4. ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง  เช่น ก้อนน้ำแข็งถั่วตัด กระดูกอ่อน เพราะอาจทำให้วัสดุแตกหรือหลุดได้