HEADER-d
HEADER-services

ปวดฟันมากเพราะรากฟันไม่รักดี

       การเสียวฟัน ปวดฟัน เหงือกบวม อาการสุดฮิตที่ใครหลาย ๆ คนก็เคยเป็น ซึ่งอาการเหล่านี้ มักจะมาแบบเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้ใครหลายคนชล่าใจว่า ไม่เป็นอะไร เดี๋ยวก็หาย แต่ความจริงแล้วอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่ารากฟันของเรากำลังมีปัญหา ซึ่งจะวางใจไม่ได้เด็ดขาด รากฟันก็เหมือนรากต้นไม้ ถ้าเสียหายแล้วฟันเราจะอยู่ได้อย่างไร ถ้ามีอาการดังกล่าว รีบไปหาทันตแพทย์ด่วน ๆ 

 

สาเหตุของอาการปวดฟัน เสียวฟัน เหงือกบวม
การรักษารากฟัน
วิธีสังเกตอาการเมื่อรากฟันเรามีปัญหา
เตรียมตัวก่อนการรักษา
วิธีการรักษารากฟัน
ระยะเวลาในการรักษารากฟัน
ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน
การดูแลตัวเองหลังรักษารากฟัน
ข้อควรรู้หลังการรักษารากฟัน

 

สาเหตุของอาการปวดฟัน เสียวฟัน เหงือกบวม

สาเหตุของอาการเหล่านี้มาจากฟันผุ ฟันแตก หรือเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง และลุกลามไปจนถึงรากฟันทำให้ติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ดังนั้นเราจึงต้องเข้ารับการรักษารากฟัน เพื่อฆ่าเชื้อ และกำจัดเนื้อเยื่อบางส่วนที่ถูกทำลาย

การรักษารากฟัน

หากให้อธิบายอย่างเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ก่อนอื่นต้องขออธิบายถึงความสำคัญของรากฟันก่อน ฟันแต่ละซี่จะมีส่วนที่เรามองไม่เห็นซ่อนอยู่ภายในเหงือก ส่วนนั้นคือรากฟันที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตฟันให้ทำงานได้อย่างปกติ เหมือนกับต้นไม้ถ้ารากเสียหายใช้การไม่ได้ ต้นไม้ก็จะล้มตายไปในที่สุด ฟันเองก็เช่นกัน ดังนั้นหากเราดูแลฟันได้ไม่ดี ก็จะทำให้รากฟันเสียหาย และต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

 

วิธีสังเกตอาการเมื่อรากฟันเรามีปัญหา

       เมื่อรากฟันเรามีปัญหาร่างกายจะส่งสัญญานให้เรารู้สึกปวดบริเวณเหงือก ซึ่งอาจจะปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจจะปวดหนักลามไปถึงปวดหัว มีอาการเหงือกบวม มีตุ่มหนอง บวมบริเวณใบหน้า มีอาการเสียวฟันเวลาทานของเย็น ของร้อน เจ็บบริเวณเหงือกและฟันขณะเคี้ยวอาหาร หรือฟันเปลี่ยนสีจากขาวเป็นคล้ำ หากมีอาการใดอาการหนึ่งตามนี้ แนะนำให้รีบมาพบทันตแพทย์จะดีที่สุด เพราะหากปล่อยปะละเลยอาการเหล่านี้ อาจจะรักษารากฟันได้ไม่ทัน และต้องจบด้วยการสูญเสียฟัน

 

เตรียมตัวก่อนการรักษา

  1. ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบราคาเพื่อเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย และกระเป๋าตัง
  2. ติดต่อนัดหมายทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับรักษารากฟัน เพื่อเข้ารับการรักษา
  3. ก่อนเริ่มการรักษา ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อให้เห็นภาพขนาดของรากฟันบริเวณที่ได้รับความเสียหาย 

 

วิธีการรักษารากฟัน

ขั้นตอนการรักษารากฟันจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การรักษารากฟัน

  1.  เริ่มต้นทันตแพทย์จะทำการรักษา จะต้องทำการฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกก่อน
  2. เมื่อเริ่มชา ทันตแพทย์จะนำแผ่นยางกันน้ำลายมากั้นฟันซี่ที่กำลังรักษา เพื่อให้บริเวณฟันนั้นสะอาดที่สุด และเป็นการป้องกันอุบัติเหตุจากการรักษาฟันด้วย 
  3. หลังจากนั้นทันตแพทย์ก็จะเจาะเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก 
  4. ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาดโพรงฟัน และขยายโพรงประสาทฟันให้กว้างขึ้น 
  5. สุดท้ายทันตแพทย์ก็จะใส่ยาเพื่อให้แน่ใจว่ารากฟันหายเป็นปกติดี และอุดฟันชั่วคราวเอาไว้เพื่อไม่ให้เชื้อโรค แบคทีเรียเข้ามาทำร้ายรากฟันได้อีก ที่ต้องใช้การอุดฟันชั่วคราว เพราะการรักษารากฟันไม่สามารถรักษาให้หายได้ภายในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะรักษาให้จนกว่าจะมั่นใจว่าเชื้อหายไปหมดแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 การใส่เดือยฟัน และครอบฟัน

  เมื่อฟันของเราได้รับการรักษารากฟัน เนื้อด้านในของฟันก็จะถูกนำออกไป ทำให้ฟันมีช่องว่าง ซึ่งจะทำให้แตกหักได้ง่าย ทันตแพทย์จึงต้องใส่เดือยฟัน เดือยฟันคือวัสดุทางทันตกรรมชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็ก ประโยชน์ของเดือยฟันก็คือเสริมความแข็งแรงให้ฟัน ทดแทนเนื้อฟันที่เราสูญเสียไป

หลังจากใส่เดือยฟันก็จะต้องทำการใส่ครอบฟัน ครอบฟันคือการสร้างวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายฟันของเรา เพื่อนำมาทดแทนฟันที่ถูกกรอออกเพื่อรักษารากฟัน ให้กลับมาสวยงาม และใช้งานได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนการใส่เดือยฟัน และการใส่ครออบฟันมีดังนี้

  1.  ทันตแพทย์จะทำการวินิจฉันก่อนว่าคนไข้ควรจะต้องรักษารากฟันร่วมกับการใส่เดือยฟันไหม
  2. หากพบว่าคนไข้ควรจะต้องรักษาร่วมกับการปักเดือย คุณหมอจะนัดหมายเพื่อนัดมาปักเดือยฟัน พร้อมกับใส่ครอบฟัน
  3. ก่อนทำ ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก
  4. เมื่อยาออกฤทธิ์ ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันด้านบน และด้านในสำหรับเตรียมใส่เดือยฟัน และครอบฟัน
  5. ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์รากฟัน สำหรับการส่งเเลปผลิตเดือยฟัน และครอบฟัน
  6. ทันตแทพย์จะใส่เดือยฟัน และครอบฟันชั่วคราวให้ก่อน 
  7. เมื่อเดือยฟัน และครอบฟันของจริงมาถึง ทันตแพทย์จะทำการรื้อเดือยฟันและครอบฟันชั่วคราวออก ทันตแพทย์จะใส่เดือยฟันให้ก่อน เนื่องจากการใส่เดือยฟันใช้เวลานาน ทันตแพทย์จะนัดให้คนไข้มาใส่ครอบฟันอีกครั้ง
  8. เมื่อถึงวันนัด ซึ่งจะเป็นการรักษาครั้งสุดท้าย คุณหมอจะใส่ครอบฟันเพื่อความแข็งแรงสมบูรณ์ ให้คนไข้กลับมามีฟันที่แข็งแรง บอกลาฟันที่เคยปวด

 

 

ระยะเวลาในการรักษารากฟัน

ระยะเวลาขึ้นอยู่กับประเภทของฟัน โดยแบ่งได้ดังนี้ ฟันหน้า ฟันกรามน้อยจะใช้เวลาน้อยสามารถรักษาได้กับทันตแพทย์ทั่วไป แต่หากรักษากับแพทย์เฉพาะทางจะสามารถรักษาได้เร็วขึ้น ส่วนฟันกรามใหญ่จำเป็นต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทาง เนื่องจากการรักษาต้องใช้ความชำนาญเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา  

 

ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน 

ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง และการรักษารากฟันกับทันตแพทย์ทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการรักษากับแพทย์เฉพาะทางอาจจะสูงกว่า แต่คนไข้จะประหยัดเวลาในการรักษามากกว่า และได้รักษากับทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์

ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการรักษารากฟันหน้า

การรักษารากฟัน 3 ครั้ง ค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 บาท (ทันตแพทย์ทั่วไป) 

การรักษารากฟัน 2 ครั้ง  ค่าใช้จ่ายครั้งละ 3,000 บาท (ทันตแพทย์เฉพาะทาง) 

ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการรักษารากฟันกรามน้อย

การรักษารากฟัน 3 ครั้ง ค่าใช้จ่ายครั้งละ 2,000 บาท (ทันตแพทย์ทั่วไป) 

การรักษารากฟัน 2 ครั้ง  ค่าใช้จ่ายครั้งละ 4,000 บาท (ทันตแพทย์เฉพาะทาง) 

ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการรักษารากฟันกรามใหญ่

การรักษารากฟัน 3 ครั้ง  ค่าใช้จ่ายครั้งละ 3,000 บาท (ทันตแพทย์เฉพาะทาง) 

ใส่เดือยฟัน ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท

ใส่ครอบฟัน 2 ครั้ง ค่าใช้จ่าย 6,000 – 9,000 บาท

 

การดูแลตัวเองหลังรักษารากฟัน

  1. หลังจากรักษาเสร็จ ไม่ควรรับประทานอาหารขณะที่ยังมีอาการชาจากการฉีดยาชาอยู่ เพราะอาจจะทำให้เผลอกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มโดยไม่รู้ตัว
  2. ควรเลี่ยงการใช้งานฟันซี่ที่พึ่งผ่านการรักษา ควรรอให้ฟันฟื้นตัวอย่างเต็มที่เสียก่อน และเนื่องจากมีการอุดฟันชั้วคราวเอาไว้ หากมีวัสดุหลุดออกมาเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องตกใจ แต่ถ้าหากวัสดุที่อุดฟันหลุดออกมาทั้งชิ้น ควรรีบแจ้งทันตแพทย์ทันที
  3. ดูแลความสะอาดของฟันด้วยการแปลงฟันให้สะอาด และใช้ไหมขัดฟันตามปกติ

 

ข้อควรรู้หลังการรักษารากฟัน

ในช่วงเวลาหลังจากรักษารากฟัน เราจะพบว่าเหงือกบริเวณนั้นจะนิ่มลง ซึ่งเป็นอาการปกติ อาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยบริเวณที่ทำการรักษา แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอย่างพาราเซตามอล(Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ประมาณ 2-3 วันอาการเจ็บปวดจะเริ่มหายไป แต่หากยังไม่ดีขึ้น มีอาการบวมภายในหรือนอกปากอย่างเห็นได้ชัด กลับมาปวดเหมือนตอนที่ยังไม่ได้รับการรักษา มีอาการแพ้ยา ผื่นขึ้น เป็นลมพิษ มีอาการคัน รู้สึกว่าฟันไม่เสมอกัน ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

Contact

นัดหมายเพื่อเข้ามาตรวจสุขภาพฟันกับคุณหมอของเรา ที่คลินิกทันตกรรม Sodent ทั้งสามสาขา
สาขาสวนสมเด็จ , สาขาถนนมหาจักรพรรดิ์, สาขาบูรพาซิตี้
เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 20.00 , เสาร์ – อาทิตย์ 9.00 – 20.00

เบอร์โทรศัพท์: 099-1596553

Facebook: Sodent Dental

LINE Official: Sodent Dental